วิศวกรรม วัสดุนาโน
ระดับปริญญาตรี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุนาโน
จํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
140 หน่วยกิต
เปิดรับสมัคร
เริ่มรับสมัครประมาณเดือนพฤศจิกายน 2563
ค่าเล่าเรียน
25,000 บาท/เทอม
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
วิชาเอก
เน้นให้มีความเชี่ยวชาญวิทยาการชั้นสูงด้านวัสดุนาโน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
นาโนเทคโนโลยีเป็นวิทยาการแขนงใหม่ที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งต้องอาศัยการบูรณาการศาสตร์ความรู้ในหลายด้าน นาโนเทคโนโลยีจึงได้ถูกบรรจุเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ แต่ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาใหม่นี้เป็นจํานวนมาก หลักสูตรจึงมีความสําคัญโดยตรงต่อการรองรับการพัฒนาของประเทศทางด้านนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยี และได้เน้นการพัฒนาวิจัยแบบบูรณาการโดยอาศัยความร่วมมือของคณาจารย์ในวิทยาลัยฯ จากคณะอื่นๆ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกในศาสตร์สาขาต่างๆ
คุณสมบัติผู้สมัคร
คุณสมบัติทั่วไปสำหรับผู้สมัคร:
1. เป็นผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2557
2. แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
3. มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
4. มีความประพฤติเหมาะสม
วิธีการสมัคร
- สมัครได้โดย คลิกที่นี่
- ติดตามข่าวสารผ่าน Facebook: College of Materials Innovation and Technology
อาชีพที่สามารถประกอบได้ในอนาคต
- วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (S-Curve)
- อุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต (New S-Curve) เช่น วิศวกรวัสดุ วิศวกรควบคุมการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรการขาย นักวิจัยและพัฒนา
รายละเอียดหลักสูตร (ฉบับเต็ม)
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุนาโน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุนาโน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุนาโน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553)
- หลักสูตรแบบควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา (Dual Bachelor’s Degree Program) ได้แก่ Bachelor of Engineering (Nanomaterial Engineering) และ Bachelor of Engineering (Polymer Materials and Engineering) BUCT
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ชั้นปี 1
– มีความรู้ ความเข้าใจในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางวิศวกรรม และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มีทักษะพร้อมสําหรับศึกษาต่อในระดับสูง
ชั้นปี 2
ชั้นปี 3
– มีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ด้านงานวิจัย และสามารถเรียนรู้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อสร้างผลงาน วิชาการและงานวิจัยที่มีคุณภาพได้
– สามารถ เลือก และประยุกต์เทคนิควิธี อุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อสร้างวัสดุโครงสร้างนาโนและตรวจวิเคราะห์ สมบัติเฉพาะของวัสดุโครงสร้างนาโน
ชั้นปี 4
– สามารถพัฒนา ประยุกต์ ศาสตร์ทางด้านวัสดุนาโน นาโนเทคโนโลยีและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหาและบูรณาการความรู้ให้เข้ากับภาคอุตสาหกรรม
– สามารถสื่อสารและเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและบุคคลทั่วไปเข้าใจได้จาก เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย
– ตระหนักถึงความจําเป็นและมีความสามารถในการเรียนรู้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีและสังคมเพื่อพัฒนาตนเองตลอดชีพ